ร่วมรำลึกครบรอบ 20 ปี “สึนามิ ถล่มไทย” มติชน แจก อีบุ๊ก “สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน”


26 ธันวาคม 2567 ครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติจากคลื่นสีนามิในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 184,167 คน ใน 15 ประเทศ โดยเสียชีวิตในไทย 5,395 คน 

อีบุ๊ก “สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน” จากต้นฉบับหนังสือเฉพาะกิจ 124 หน้า จัดทำโดย กองบรรณาธิการมติชน ในเดือนมกราคม 2548 ถ่ายทอดเหตุการณ์ วันมหาวิบัติ แบบวันต่อวัน โดยทีมข่าวที่ลงพื้นที่เพื่อบันทึกเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด ถ่ายทอดจากปากคำผู้ประสบเหตุ ผู้รอดชีวิต และผู้สูญเสีย ท่ามกลางสภาพอัน “ไม่เชื่อสายตา” ท่ามกลางซากปรักหักพัง และความหายนะในพื้นที่ๆ ครั้งหนึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามระดับโลก

ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่  ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล  ในขณะเดียวกันกันก็นำมาซึ่งปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย บรรเทาทุกข์ ร่วมแรง ร่วมใจของคนไทยทั้งชาติครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ และปฏิบัติการณ์ด้านมนุษยธรรม ที่หลั่งไหลมากจากทั่วโลก

แม้จะผ่านมาแล้ว 20 ปี บันทึกใน “สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน” กลับยิ่งทรงคุณค่า และมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ด้วย “บทเรียน” สำหรับผู้บริหารประเทศ นักบริหาร ผู้ประกอบการและประชาชน ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจภัยพิบัติทางธรรมชาติอันทรงพลังและเฉียบพลัน  ที่ถึงแม้จะไม่สามารรถยับยั้งป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถเฝ้าระวัง เพื่อหลีกเลี่ยง บรรเทาความเสียหายได้

ลำดับเหตุการณ์

ย้อนหลังไปเมื่อ 20 ปี วันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 08.00 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหว รู้สึกได้ในหลายจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะตึกสูงบริเวณกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา ภูเก็ต และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  แผ่นดินไหวดังกล่าวมีศูนย์กลางทางทิศตะวันตกนอกชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดความรุนแรง  9.0 ริกเตอร์ซึ่งสูงกว่าระดับ 8.5 ริกเตอร์ ที่ระบุความรุนแรงว่า “ สั่นสะเทือนพังพินาศ  ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นดินแถบนั้นเสียหายโดยสิ้นเชิงพื้นดินเคลื่อนตัวเป็นลูกคลื่น”

08.01 น.  เกิดการก่อตัวของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ศูนย์กลางระหว่างเกาะสุมาตรา – นิโคบาร์ – อันดามัน คลื่นเดินทางจากจุดกำเนิด ด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทุกทิศทาง เวลา 08.30 น.  คลื่นสึนามิขนาดสูง 10 เมตร เข้าถึงฝั่งจังหวัดบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย  และหลังจากนั้นอีกกว่าชั่วโมง เวลา  09.30 น. คลื่นยักษ์สึนามิเคลื่อนถึงฝั่งจังหวัดริมฝั่งทะเลอันดามัน ด้านตะวันตกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล

ความผิดปกติเริ่มปรากฎจากน้ำทะเลถดถอยจากชายหาดต่างๆ อย่างรวดเร็ว เป็นระยะทางประมาณ 100-1,000 เมตร ชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่นาที ก่อนที่ จะแปรสภาพเป็น คลื่นสึนามิ 4 ระลอก ยอดคลื่นสูงประมาณ 2-3  เมตร เข้ากระทบฝั่ง สูงขึ้นเรื่อยๆจนเกิน 10 เมตร ในระลอกที่ 3 และ 5 เมตรในระลอกที่ 4 เมื่อเวลา 10.20 น. ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ลดระดับลง ก่อนจะทิ้งไว้ซึ่งความหายนะในระดับ “ไม่เชื่อสายตา”

ในเวลานั้นผู้คนพึ่งผ่านช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส ในคืนที่ผ่านมา และเตรียมต้อนรับปีใหม่ 2548 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ในแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามระดับโลก ในขณะที่ชายฝั่งรอบๆ เป็นทั้งแหล่งประมง เมืองท่า  ชุมชนขนาดใหญ่หนาแน่น  ยอดผู้เสียชีวิตจึงพุ่งสูงถึง 184,167 คน ใน 15 ประเทศ โดยเสียชีวิตในประเทศไทย 5,395 คน  แยกเป็นคนไทย 2,059 คน คนต่างชาติ 2,436 คน   นับเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ และเป็นโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ นายกรัฐมนตรีสวีเดน หนึ่งในชาติที่มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตมากที่สุด กล่าวว่า  หายนะครั้งนี้ถือเป็นหายนะที่เลวร้ายที่สุดในช่วงชีวิตของเราและจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของชาวสวีเดนทุกคนไปอีกเป็นเวลายาวนาน

เครือมติชน ในฐานะกลุ่มสื่อที่มีบทบาทในการบันทีกเรื่องราว ความเป็นไปของสังคมไทย จึงขอมอบ  อีบุ๊ก “สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน” จากต้นฉบับหนังสือเฉพาะกิจ จัดทำโดย กองบรรณาธิการมติชน ในเดือนมกราคม 2548 ที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ วันมหาวิบัติ แบบวันต่อวัน

ทีมข่าวที่ลงพื้นที่เพื่อบันทึกเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด  ถ่ายทอดจากปากคำผู้ประสบเหตุ ผู้รอดชีวิต และผู้สูญเสีย ท่ามกลาง ท่ามกลางซากปรักหักพัง และความหายนะในพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดของไทย และพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ประสบภัย  พร้อมปฎิบัติการช่วยเหลือกู้ภัย บรรเทาทุกข์ ร่วมแรง ร่วมใจของคนไทยทั้งชาติครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ และปฏิบัติการณ์ด้านมนุษยธรรม ที่หลั่งไหลมากจากทั่วโลก

“สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน”  เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งเล่ม จำนวน 124  หน้า ทุกคนมีสิทธิดาวน์โหลดไว้อ่านได้ หลังจากดาวน์โหลดแล้ว หนังสือเล่มนี้จะอยู่ตลอดไป ไม่มีหมดอายุ ดังนั้น ห้องสมุดต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ  ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเพื่อนำไปเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจได้ เพราะว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เปรียบเสมือน “จดหมายเหตุประวัติศาสตร์” ที่บันทึกโดยกองบรรณาธิการมติชน

“บทเรียนสึนามิ 2547” คือ บทเรียนราคาแพงที่สุด ครั้งหนึ่งที่หลายประเทศต้องจ่าย โดยเฉพาะการขาดระบบเชื่อมโยง การขาดทั้งความเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยสากล และระบบเตือนภัยท้องถิ่น แม้กระทั่งความรู้เอาตัวรอดระดับบุคคล

“อินโดนีเซีย” ผู้ปฎิบัติงานในช่วงนั้นทราบความเสี่ยงของสึนามิ แต่ไม่ได้รับการตอบสนองด้านงบประมาณเพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัย  เมื่ออินโดนีเซียประสบภัยพิบัติก่อน 1 ชั่วโมง กลับไม่สามารถส่งคำเตือนมาที่ประเทศไทยได้

“ไทย” คำเตือนเรื่องความเสี่ยงสึนามิ ไม่เพียงแต่ ถูกเพิกเฉย แต่ยังได้รับการต่อต้าน

“ศูนย์เตือนภัยจากคลื่นสึนามิในมหาสมุทร แปซิฟิก : PTWC” หน่วยงานที่มีระบบที่ทันสมัยที่สุดในโลก และทราบความรุนแรงของผลการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้นในมหาสมุทรอินเดียได้  “ไม่มีหมายเลขโทรศัพท์ที่จะติดต่อกับใครในบริเวณดังกล่าวได้

แม้จะผ่านมาแล้ว 20 ปี บันทึกใน “สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน” กลับยิ่งทรงคุณค่า และมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ด้วย “บทเรียน” สำหรับผู้บริหารประเทศ นักบริหาร ผู้ประกอบการ และประชาชน ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจภัยพิบัติทางธรรมชาติอันทรงพลังและเฉียบพลัน  ที่ถึงแม้จะไม่สามารรถยับยั้งป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถเฝ้าระวัง เพื่อหลีกเลี่ยง บรรเทาความเสียหายได้ ซึ่งในยุคที่ชาวโลกและคนไทยต้องเผชิญภาวะการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ก็ยิ่งดูเหมือนว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น  พร้อมจะลงโทษ และเอาคืน

ร่วมรำลึก และเรียนรู้  ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ ที่โลกไม่มีวันลืม เพื่อทบทวนและก้าวไปต่อไปข้างหน้า กับ “สึนามิ มหาวิบัติแห่งอันดามัน”   เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีผ่านช่องทางสื่อเครือมติชน ตามลิงค์ที่ปรากฎนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง



Source link

Post a Comment

Previous Post Next Post